จมื่นศรีสรรักษ์ (เพ่ง บุนนาค)
ท่านเจ้าจอมพิศว์ ในรัชกาลที่ 5
นายราชาณัตยานุหาร (พาสน์ บุนนาค)
หม่อมพัฒน์ รัชนี ในกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
คุณหญิงพวง ดำรงราชพลขันธ์
ในสมัยที่เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ มีตำแหน่งหน้าที่เป็นจางวางมหาดเล็ก และราชเลขาธิการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เวลาท่านเข้าวังมักจะพาเจ้าจอมพิศว์ไปด้วยเสมอ ท่านจึงมีโอกาสเข้าเฝ้าใกล้ชิดพระยุคลบาทและคุ้นเคยกับเจ้านายทั้งฝ่ายหน้าฝ่ายในแต่อายุ 13 ขวบ เมื่อคราวงานพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้คุณจอมทำหน้าที่เป็นนางเชิญมยุรฉัตร เข้ากระบวนแห่ในงานพระราชพิธีนั้น ได้มีพระราชกระแสขอต่อเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ ท่านจึงได้ให้ท่านผู้หญิงเปลี่ยน นำคุณพิศว์เข้าเฝ้าถวายตัวรับราชการฝ่ายในแต่นั้นมา โดยอยู่ที่ตำหนักเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ ผู้เป็นญาติ
เจ้าจอมพิศว์ รับราชการฉลองพระเดชพระคุณมานานกว่า 30 ปี จนสิ้นรัชกาลที่ 5 แล้ว ท่านยังคงรับราชการในพระบรมมหาราชวังตลอดมา จนกระทั่ง ท่านผู้หญิงเปลี่ยนถึงอนิจกรรมจากการถูกทหารเรือฟันเป็นบาดแผลสาหัสนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชปรารภว่า "เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ มีอายุล่วงเข้าวัยชรามากแล้ว เวลาป่วยไข้ลงจะลำบาก ไม่มีใครดูแลปรนนิบัติ เพราะบุตรธิดาอื่นต่างมีครอบครัวไปหมด" พระองค์ทรงสงสารเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ จึงโปรดให้คุณจอมออกไปช่วยดูแลการงานทางบ้าน แต่ยังคงให้มีหน้าที่ราชการฝ่ายในตามเดิม ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่สนองพระคุณเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ตลอด 15 ปี จนท่านเจ้าพระยาผู้เป็นบิดาถึงแก่อสัญกรรม
เจ้าจอมพิศว์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตติยจุลจอมเกล้า เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 3 และหีบหมากทองคำลงยา อันมีเกียรติเท่าชั้นเจ้าจอมมารดา นอกจากนี้ ยังได้รับพระราชทานเข็มพระบรมรูปอักษรพระปรมาภิไธยย่อ จปร ทองคำฝังเพชร และของที่ระลึกอื่นๆอีกมาก
ในทางพระศาสนาได้บริจาคเงินบำรุงโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดประยูรวงศาวาส และบำเพ็ญกุศลอีกมากตลอดอายุ
เจ้าจอมพิศว์เป็นผู้มีงานอดิเรกมากมาย ท่านเป็นคนชอบเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสุนัข ตั้งแต่ยังอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ท่านเคยได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 5 มาตัวหนึ่ง ชื่อเนล ท่านเลี้ยงจนเก่ง สอนให้ไปซื้อขนมก็ได้ โดนส่งเงินให้คาบไปจ้องขนมที่จะซื้อตรงหน้า จนผู้ขายเข้าใจและหยิบให้จึงจะคายอัฐให้ผู้ขาย คาบห่อขนมกลับมา เมื่ออกมานอกวังท่านก็ยังเล่นต่อ ท่านมีสารพัดพันธุ์ชนิดตั้งแต่พันธุ์ไทยถึงพันธุ์เทศราคาแพงๆ ว่ากันว่านกแก้วมากัวที่ท่านเลี้ยงนั้น เป็นตัวแรกที่มีในประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] และยังเป็นผู้ริเริ่มเล่นปลาตู้คนแรกด้วย[ต้องการอ้างอิง] โดยทำเป็นซีเมนต์มีกระจกข้างหน้าขนาดใหญ่พอดู 2-3 ตู้ เลี้ยงทั้งปลาไทยปลาเทศ
ในด้านการบันเทิง ท่านชอบดูภาพยนตร์เป็นประจำ และชอบสะสมรูปที่สอดมาในซองบุหรี่ หรือเรียกว่ายากาแรต ท่านมีเป็นชุดๆมากมายหลายสิบอัลบั้ม นับว่าท่านเป็นนักสะสมรูปยากาแรตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของเมืองไทย[ต้องการอ้างอิง] ร้านค้ารูปยังเป็นรองท่านฝีมือทางด้านการครัว[ต้องการอ้างอิง] ย่อมเป็นเอกในฐานะบุตรีของท่านผู้หญิงเปลี่ยน เจ้าของหนังสือตำรา "แม่ครัวหัวป่าก์" อันโด่งดัง ท่านมีฝีมือมากในด้านการต้มหมูแฮม ซึ่งเป็นสูตรพระราชทานจากรัชกาลที่ 5 สูตรน้ำพริก ท่านก็มีมากมายหลายสิบสูตร อีกทั้งยังมีความสามารถในการแกะสลักผักอีกด้วย
บั้นปลายชีวิตท่านย้ายบ้านจากหน้าวัดประยูรวงศ์ ไปอยู่ถนนเพชรบุรี ถนนสุขุมวิท และ ถนนเอกมัย ตามลำดับ จนในที่สุด ก่อนถึงอนิจกรรม ท่านได้ไปพำนัก ณ จังหวัดนครราชสีมา กับหลาน ของท่าน และถึงอนิจกรรมโดยกะทันหัน เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 สิริรวมอายุได้ 95 ปี ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ในการศพ จนถึงพระราชเพลิง ณ เมรุวัดประยุรวงศาวาส
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 3 (จ.ป.ร.3)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น