วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ความทรงจำที่๐๑

เล่าปี่

พระเจ้าเล่าปี่ หรือ หลิวเป้ย ตามสำเนียงจีนกลาง (刘备;  劉備; ) หรือ สมเด็จพระจักรพรรดิเจียงบู๊เต้ เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตรยุคสามก๊ก เสด็จพระราชสมภพที่เมืองจัวโจว มณฑลเหอเป่ย และเสด็จสวรรคตที่แขวงไป๋ตี้เฉิง เมืองฉงชิ่ง มณฑลสื้อชวน ประเทศจีน จักรพรรดิผู้ก่อตั้งอาณาจักรจ๊กก๊กและราชวงศ์ฮั่น เป็นชาวเมืองตุ้นกวน ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก เล่าปี่เป็นผู้ที่รูปร่างสูงใหญ่ สูงประมาณห้าศอก หูยานถึงบ่า มือยาวถึงเข่า หน้าขาวดังสีหยก ฝีปากแดงดังชาดแต้ม จักษุชำเลืองไปเห็นหู มีกระบี่คู่แบบโบราณเป็นอาวุธประจำกาย เก่งกาจเชิงยุทธ มีคุณธรรม อ้อนน้อมถ่อมตน สำรวมกายสำรวมใจเป็นเลิศ

เล่าปี่ร่วมสาบานเป็นพี่น้องในสวนท้อกับกวนอูและเตียวหุย ร่วมรบกับทหารจากวังหลวงในการปราบปรามโจรโพกผ้าเหลือง ภายหลังได้รับตำแหน่งนายอำเภออันห้อกวนแต่ถูกต๊กอิ้วกล่าวหาเป็นกบฏจึงต้องหลบหนี ร่วมทำศึกเพื่อกอบกู้ราชวงศ์ฮั่นมาโดยตลอด ภายหลังครองเมืองเสฉวน สถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าฮันต๋งแห่งจ๊กก๊ก สวรรคตภายหลังจากนำทัพขนาดใหญ่บุกโจมตีกังตั๋งเพื่อแก้แค้นให้กวนอูในปี พ.ศ. 766 รวมพระชนมายุได้ 63 พรรษา


เล่าปี่

พระเจ้าเล่าปี่ หรือ หลิวเป้ย ตามสำเนียงจีนกลาง (刘备;  劉備; ) หรือ สมเด็จพระจักรพรรดิเจียงบู๊เต้ เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตรยุคสามก๊ก เสด็จพระราชสมภพที่เมืองจัวโจว มณฑลเหอเป่ย และเสด็จสวรรคตที่แขวงไป๋ตี้เฉิง เมืองฉงชิ่ง มณฑลสื้อชวน ประเทศจีน จักรพรรดิผู้ก่อตั้งอาณาจักรจ๊กก๊กและราชวงศ์ฮั่น เป็นชาวเมืองตุ้นกวน ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก เล่าปี่เป็นผู้ที่รูปร่างสูงใหญ่ สูงประมาณห้าศอก หูยานถึงบ่า มือยาวถึงเข่า หน้าขาวดังสีหยก ฝีปากแดงดังชาดแต้ม จักษุชำเลืองไปเห็นหู มีกระบี่คู่แบบโบราณเป็นอาวุธประจำกาย เก่งกาจเชิงยุทธ มีคุณธรรม อ้อนน้อมถ่อมตน สำรวมกายสำรวมใจเป็นเลิศ

เล่าปี่ร่วมสาบานเป็นพี่น้องในสวนท้อกับกวนอูและเตียวหุย ร่วมรบกับทหารจากวังหลวงในการปราบปรามโจรโพกผ้าเหลือง ภายหลังได้รับตำแหน่งนายอำเภออันห้อกวนแต่ถูกต๊กอิ้วกล่าวหาเป็นกบฏจึงต้องหลบหนี ร่วมทำศึกเพื่อกอบกู้ราชวงศ์ฮั่นมาโดยตลอด ภายหลังครองเมืองเสฉวน สถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าฮันต๋งแห่งจ๊กก๊ก สวรรคตภายหลังจากนำทัพขนาดใหญ่บุกโจมตีกังตั๋งเพื่อแก้แค้นให้กวนอูในปี พ.ศ. 766 รวมพระชนมายุได้ 63 พรรษา

พระราชประวัติ

เล่าปี่ทรงสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ฮั่น โดย จงซานจิ้งอ๋อง ผู้เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิฮั่นเกงเต้ หรือ จักรพรรดิฮั่นจิงตี้ จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่น ในลำดับอาลักษณ์ราชวงศ์ฮั่น เล่าปี่ทรงมีศักดิ์เป็น เสด็จอาของพระเจ้าเหี้ยนเต้ จึงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้มีตำแหน่งทางพระราชวงศ์เป็นพระปิตุลาธิราช หรือ พระเจ้าอา ส่วนตำแหน่งทางการเมืองดำรงตำแหน่งขุนพลฝ่ายซ้าย เดิมเป็นคนยากจน มีอาชีพทอเสื่อและรองเท้าฟางขาย บิดาเป็นเชื้อพระวงศ์ฮั่นแต่สละฐานันดรศักดิ์เพราะแต่งงานอยู่กินกับหญิงสามัญชนแต่ถูกเหล่าเชื้อพระวงศ์กีดกันพอสละฐานันดรศักดิ์แล้วก็มาอยู่กินกับแม่ของเล่าปี่พ่อของเล่าปี่เสียชีวิตตั้งแต่เล่าปี่ยังเด็กตอนเด็กมีฐานะยากจนมากต้องยังชีพด้วยการทอเสื่อขายขายได้บ้างไม่ได้บ้างแทบไม่มีเงินไปซื้อข้าวมาหุงกินกับแม่ แต่โชคยังดีที่ยังมีข้าวเหนียวต่อมาได้ร่วมสาบานเป็นพี่น้องกับ กวนอู และ เตียวหุย ที่สวนดอกท้อ หลังบ้านเตียวหุย ที่อำเภอตุ้นกวน เพื่อปราบปรามโจรโพกผ้าเหลือง เมื่ออายุได้ 28 พรรษา โดยเป็นพี่ชายคนโต นิสัยมีน้ำใจดีงาม เป็นที่รักใคร่แก่คนทั่วไป ใช้กระบี่คู่เป็นอาวุธคู่พระวรกาย ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองชีจิ๋วหลังจากการตายของโตเกี๋ยม

หลังเสียเมืองชีจี๋วต้องหกระเหเร่ร่อนไปอาศัยเจ้าเมืองต่าง ๆ อยู่ต้องคอยอาศัยเมืองต่าง ๆ อยู่ไม่ว่าซีจิ๋วที่ถูกลิโป้ยึดครอง ฮูโต๋ที่ไปอาศัยโจโฉอยู่ ฮ่องเต้ได้แต่งตั้งเป็นพระเจ้าอา หวังช่วยเป็นเรี่ยวแรงให้ฮ่องเต้ แต่โจโฉคิดปองร้ายจึงหาทางออกจากลกเอี๋ยงเมืองหลวง ไปกิจิ๋วของอ้วนเสี้ยวครั้งที่ซีจิ๋วโดนโจโฉตีแตกและยังหนีไปอาศัยอยู่กับเล่าเปียวที่เกงจิ๋ว จนได้ขงเบ้ง เป็นที่ปรึกษา จึงได้เริ่มฟื้นตัวเพื่อการกอบกู้ราชวงศ์ฮั่นอีกครั้ง โดยร่วมมือกับซุนกวนแห่งง่อก๊ก ปราบปรามกองทัพกำลังพล 1 ล้านนายของโจโฉ ด้วยยุทธวิธีเรือไฟของจิวยี่ เผาเรือรบและทหารของโจโฉตายหลายแสนนาย โจโฉต้องหนีเอาตัวรอดอย่างน่าเวทนา ระหว่างหลบหนีได้หัวเราะว่าจิวยี่และขงเบ้งไม่ได้เก่งสมคำล่ำลือ ถ้าเป็นเขาเองจะซุ่มทหารไว้ แล้วก็ได้หัวเราะแบบนี้ถึงสามครั้งสามสถานที่ แต่แล้วต้องกลของขงเบ้งที่ให้ทหารไปซุ่มรอทั้งจูล่ง เตียวหุย กวนอู และได้วานขอชีวิตต่อกวนอู เพราะโจโฉก็เคยไว้ชีวิตกวนอูและเลี้ยงดูอย่างดี สุดท้ายโจโฉเหลือทหารเพียงหยิบกำมือกลับเมือง หลังจากยุทธการนี้เล่าปี่ได้ยึดเมืองเกงจิ๋วและขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวาง ได้แม่ทัพ และกุนซืออีกมากมาย จิวยี่ได้ใช้กลอุบาย ให้แต่งงานกับซุนชั่งเซียงพระขนิษฐาในพระเจ้าซุนกวน เป็นอีก 1 ตำนานของบุรุษสตรีงามคู่กัน แต่ขงเบ้งก็แก้กลได้

เล่าปี่มีเหล่าแม่ทัพผู้จงรักภักดีมากมาย มีทั้งขงเบ้ง ฉายามังกรเร้นกายและบังทอง ฉายาหงส์ดรุณ สองกุนซือดังแห่งยุคช่วยเหลือภายหลัง สามารถครอบครองดินแดนเสฉวนได้ในชื่อว่าจ๊กก๊ก ในภายหลังจากที่กวนอูเสียท่าแก่ลิบอง และลกซุน แม่ทัพแห่งง่อก๊ก ได้ตั้งตนเองขึ้นเป็นฮ่องเต้ครองราชย์ที่เสฉวนได้ 3 ปีตามคำร้องขอของเสนาธิการของพระองค์ เฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเจียงบู๊เต้ ทรงยกทัพหลวงไปเพื่อล้างแค้นให้กวนอู แต่เตียวหุยก็ยังโดนลอบสังหารจนถึงแก่ความตาย ยิ่งทำให้เล่าปี่ทรงคิดแต่จะล้างแดนง่อก๊กให้พินาศ แต่ก็ถูกลอบวางเพลิงค่ายทหารโดยลกซุนแม่ทัพแห่งง่อก๊ก จนต้องเสด็จหนีลี้ภัยและประชวรหนักจนสวรรคตที่เมืองเป๊กเต้เสีย (จีนกลาง - ไป๋ตี้เฉิง ปัจจุบันอยู่ในเขตมหานครฉงชิ่ง) สิริพระชนมายุ 63 พรรษา พระราชโอรสองค์โต พระนาม เล่าเสี้ยน (อาเต๊า) ได้ขึ้นครองราชย์ต่อ แต่อาเต๊าเป็นคนไม่มีสติปัญญา ทรงเชื่อฟังขุนนางชั่ว ขันทีโฉด สุดท้ายต้องเสียดินแดนให้ วุยก๊ก

เล่าปี่ถือได้ว่าเป็นตัวละครเอกในเรื่องสามก๊ก โดยล่อกวนตง มีลักษณะของผู้มีคุณธรรมอย่างเต็มเปี่ยม ไม่เคยคิดเอาเปรียบใคร ไม่เคยใช้เล่ห์กลในทางมิชอบ ซึ่งตรงข้ามกับโจโฉ โดยสิ้นเชิง เป็นผู้ที่นบน้อมต่อคนทุกชนชั้น จึงได้รับการเรียกขานจากยาขอบ หรือ ขอบยาว่า "ผู้พนมมือแด่ชนทุกชั้น"

ภาพวาดเล่าปี่ สมัยราชวงศ์ถัง

จักรพรรดิแห่งจ๊กก๊ก
ประสูติ     พ.ศ. 703
สถานที่ประสูติ     เมืองจัวโจว
สวรรคต     พ.ศ. 766
สถานที่สวรรคต     เมืองฉงชิ่ง
ทรงราชสมบัติช่วง     พ.ศ. 764 - 766
จักรพรรดิองค์ถัดไป     พระเจ้าเล่าเสี้ยน
พระนาม
อักษรจีนตัวเต็ม     劉備
อักษรจีนตัวย่อ     刘备
พินอิน     Liú Bèi
สำเนียงจีนกลาง     หลิวเป้ย
สำเนียงจีนฮกเกี้ยน     เล่าปี่
สัทอักษรแบบเวด-ไจลส์     Liu Pei
พระนามรอง     เสวียนเต๋อ หรือ เหี้ยนเต๊ก (玄德)
"ผู้ทรงคุณที่มิอาจแลเห็น"
พระสมัญญานาม     เจาลี่ (昭烈)
"พระปิยราชาธิราช" หรือ "ราชาอันเป็นที่รักยิ่ง"
ยุคในประวัติศาสตร์     ยุคสามก๊ก
พระนามอื่น ๆ     อวี้โจว์ (豫州)
เต้เหี้ยน

พระราชวงศ์

    น้องร่วมสาบาน
        เตียวหุย
        กวนอู
    พระมเหสี
        กำฮูหยิน
        บิฮูหยิน
        ซุนฮูหยิน
        งอฮูหยิน
    พระราชโอรส
        เล่าเสี้ยน
        เล่าลี
        เล่าเอ๋ง
    พระราชโอรสบุญธรรม
        เล่าฮอง

ความนิยมในรูปแบบอื่น ๆ


ภาพยนตร์

    ในภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ของจีน สามก๊ก ขุนศึกเลือดมังกร กำกับโดย แดเนียล ลี และ สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ กำกับโดยจอห์น วู ในบทภาพยนตร์ได้มีการกล่าวถึงเล่าปี่ด้วยเช่นกัน

ละครโทรทัศน์

    สามก๊ก ฉบับละครโทรทัศน์ ของประเทศจีน ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นการเชิดชูและยกย่องวรรณกรรมอมตะของจีนเรื่องสามก๊ก ในปี พ.ศ. 2534 ได้มีการถ่ายทอดเรื่องราวของเล่าปี่ตั้งแต่ยังเป็นสามัญชนจนกระทั่งสวรรคตที่เมืองเป๊กเต้ โดย ซุนกวินจ้าน นักแสดงชาวจีนที่รับบทเล่าปี่
    สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ชุดใหม่) เป็นละครที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2553 มีการถ่ายทอดเรื่องราวของเล่าปี่ตั้งแต่สาบานเป้นพี่น้องกับกวนอูเตียวหุยจนกระทั่งเสียชีวิต แสดงโดย Yu Hewei

การ์ตูน

    ในการ์ตูนไทย สามก๊ก มหาสนุก ผลงานการ์ตูนสามก๊กของสุชาติ พรหมรุ่งโรจน์ ได้มีการกล่าวถึงเล่าปี่ด้วยเช่นกัน
    และในการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง 'อินาสึมะ อีเลฟเวน Go chrono stone' เล่าปี่ได้ปรากฏตัวในช่วงที่พวกเท็นมะ(พระเอกของเรื่อง)ได้ทำการย้อนเวลาออกตามหา 11 ผู้สุดยอดในประวัติศาสตร์ เพื่อนำพลังของท่านเหล่านั้นมาใช้ในการกอบกู้ฟุตบอลคืนจากองค์กรร้ายที่ต้องการพรากฟุตบอลไปจากทุกคน โดยเมื่อพวกเท็นมะเดินทางมาถึงในยุคสามก๊กก็ได้พบกับเล่าปี่ และผู้ที่ได้รับพลังของเล่าปี่นั้นคือ 'ชินสุเกะ' เพื่อนสนิทของเท็นมะ

วิดีโอเกม

    เล่าปี่เป็นตัวละครแบบบังคับได้ในเกมซีรีส์ Dynasty Warriors โดยจัดเป็นหัวหน้าแห่งจ๊กก๊ก และปรากฏในทุกๆเกมของซีรีส์ ฝ่ายเล่าปี่จะเป็นฝ่ายสีเขียว และมีสัญลักษณ์คือดอกท้อ ซึ่งแสดงถีงการสาบานเป็นพี่น้องของเล่าปี่
    เล่าปี่เป็นตัวละครในเกมซีรีส์ Romance of the Three Kingdoms ซึ่งสามารถเล่นบงการตัวละครเล่าปี่ได้ สามารถอยู่ในตำแหน่งต่างกันออกไปได้ อาทิ เจ้าเมือง ผู้ครองแคว้น ไปตลอดจนถึงฮ่องเต้ ซึ่งฝ่ายเล่าปี่ปรากฏเป็นฝ่ายสีเขียว ในเกมนั้น เล่าปี่ ถึงจะมีความสามารถสูงกว่าตัวละครอื่นๆอย่างมาก แต่การเล่นจะค่อนข้างยาก และเหมาะสำหรับผู้เล่นที่เชี่ยวชาญแล้ว แสดงถึงชีวิตที่ขึ้นๆลงๆของเล่าปี่ในประวัติศาสตร์จริง
    เล่าปี่เป็นตัวละครในเกม Destiny of an Emperor



อ้างอิง

กล่าวถึงเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 1, สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 5
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ดี๐๑













































+ หลักความเชื่อของศาสนาพุทธ คือ เหตุที่ทำให้เกิดความสุขนั้น ก็คืออยู่กับปัจจุบัน ขณะปล่อยวางได้ในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ควบคุมความอยากที่ไม่มีสิ้นสุด

󾀿+ ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ทะเลาะ และใช้หลักเวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
     ให้อภัยตัวเองและผู้อื่น มีจิตใจเมตตา กรุณา และเสียสละเพื่อผู้อื่น

󾀿+ อริยสัจ 4 คือ สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบและบอกไว้ด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
     แท้จริงแล้วก็คือทางเดินไปหาคำว่า "ความสุข" เพราะถ้าเมื่อไรเรากำจัด "ความทุกข์" ได้แล้ว ความสุขก็จะเกิดขึ้น

󾀿+ อุปสรรคของความสุข ก็คือแรงปรารถนาและตัณหา
     คนเราจะมีความสุขไม่ขึ้นอยู่กับว่า "มีเท่าไร" แต่ขึ้นอยู่ที่ว่าเรา "พอเมื่อไร"
     ความสุขไม่ได้ขึ้นกับจำนวนสิ่งของที่เรามี หรือเราได้...

󾀿+ ดังนั้น วิธีจะมีความสุข อันดับแรกต้อง "หยุดให้เป็น และ พอใจให้ได้"
     ถ้าเราไม่หยุดความอยากของเราแล้วละก็ เราก็จะต้องวิ่งไล่ตามหลายสิ่งที่เรา "อยากได้" แล้วนั่นมันเหนื่อย และความทุกข์ก็จะตามมา...

󾀿+ ข้อต่อมาที่ทำให้เราเป็นสุข คือ การมองทุกอย่างในแง่บวก
     ชีวิตแต่ละวัน แน่นอนเราต้องเจอทั้งเรื่องดีและไม่ดี
     ถ้าเราอยากจะมีความสุข เราต้องเริ่มด้วยการมองแต่สิ่งดีๆ มองให้เป็นบวก
     เพื่อใจเราจะได้เป็นบวกคิดถึง แต่สิ่งที่เรากระทำสำเร็จแล้วในวันนี้ และสิ่งดีๆที่เราได้กระทำ

󾀿+ ข้อต่อมา คือ "การให้"
     หมายรวมถึง การให้ในรูปแบบสิ่งของหรือเงิน ที่เรียกว่าบริจาค และการให้ความเมตตากรุณาต่อกันและกัน รวมถึงการให้อภัยทั้งตัวเองและผู้อื่น
     สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัย ทำให้เรามีแต่ความสุข....

󾀿+ การปล่อยวางให้ได้ในทุกสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว และที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ว่าเรื่องจะร้ายแรงและเศร้าโศกเพียงใด
     จำไว้ว่ามันจะโดนเวลาพัดพามันไปจากเรา ไม่ช้าก็เร็ว
     เราจะผ่านพ้นไปได้... และยอมรับในความเป็นจริงของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เราไม่ชอบเพียงใด ไม่ว่าผิดหวัง สูญเสีย เจ็บป่วย ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
     เรา ทุกคนต้องได้ผ่านบททดสอบนี้ทั้งสิ้น ไม่ว่าเราจะเป็นใคร...

󾀿+ ทำตนเองให้สดใส ด้วยการยิ้มให้ตนเอง
     ทำคนอื่นให้สดใสได้ ด้วยการยิ้มให้เขา
     การยิ้มไม่ต้องลงทุนอะไรเลย แต่สามารถสร้างความสดใสได้เป็นอันมาก ทำให้เราเป็นสุขอยู่เสมอ เพราะความสุขมันอยู่ใกล้แค่นี้เอง อยู่แค่ที่ใจของเรานี่เอง
     ยิ้มแย้มอย่างแจ่มใส เห็นใครทักก่อน นี่คือ.. วิธีแสดงเสน่ห์แบบง่ายๆ แต่ให้ผลมาก

󾀿+ การให้อภัยไม่ต้องลงทุนอะไรเลย แต่การแก้แค้นลงทุนมาก
     เพราะเวลาเขาด่าว่าเราเพียงไม่ถึงนาที เขาอาจจะลืมไปแล้วด้วย
     แต่เรายังคงจดจำ ยังเจ็บใจอยู่... นี่เราฉลาดหรือโง่กันแน่

󾀿+ การบ่นแล้วหมดปัญหาก็น่าบ่น บ่นแล้วมีปัญหา ไม่รู้จะบ่นหาอะไร
     เรายังเคยเข้าใจผิดผู้อื่น ถ้าคนอื่นเข้าใจเราผิดบ้าง ก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องแปลกอะไร
     ทำไมต้องเศร้าหมอง... ในเมื่อเราไม่ได้เป็นอย่างที่ใครเข้าใจ

󾀿+ อย่าโกรธฟุ่มเฟือย อย่าโกรธจุกจิก อย่าโกรธไม่เป็นเวลา อย่าโกรธมาก จะเสียสุขภาพกายและสุขภาพจิต
     แม้จะฝึกให้เป็นผู้ไม่โกรธไม่ได้ แต่การฝึกให้เป็นผู้ไม่โกรธบ่อยสามารถกระทำได้ โดยฝึกให้เป็น ผู้รู้จักให้อภัยให้ได้

󾀿+ การนินทาว่าร้ายเป็นเรื่องของเขา การให้อภัยเป็นเรื่องของเรา
     การชอบพูดถึงความดีของเขา คือ ความดีของเรา
     การชอบพูดถึงความไม่ดีของเขา คือ ความไม่ดีของเรา

󾀿+ การโทษผู้อื่นแก้ไขอะไรไม่ได้ แต่การโทษตนเองสามารถแก้ไขได้
     แก้ตัวไม่ได้ช่วยอะไร แต่แก้ไขช่วยให้ดีขึ้น

󾀿+ การนอนหลับเป็นการพักกาย การทำสมาธิเป็นการพักใจ
     คนส่วนใหญ่พักแต่กาย ไม่ค่อยพักใจ

󾀿+ รู้จักทำใจให้รักผู้บังคับบัญชา รู้จักทำใจให้รักลูกน้อง รู้จักทำใจให้รักเพื่อนร่วมงาน สวรรค์ก็อยู่ที่ทำงาน
     เกลียดผู้บังคับบัญชา เกลียดลูกน้อง เกลียดผู้ร่วมงาน นรกก็อยู่ที่ทำงาน

󾀿+ การที่เรายังต้องแสวงหาความสุข แสดงว่าเรายังขาดความสุข
     แต่ถ้าเรารู้จักทำใจให้เป็นสุขได้เอง ก็ไม่ต้องไปดิ้นรนแสวงหาที่ไหน

󾀿+ ความอ่อนน้อม อ่อนโยน อ่อนหวาน นั้นดี.... อ่อนข้อให้เขาบ้างก็ยังดี แต่... อ่อนแอนั้น ไม่ดี
     ในการคบคน ศิลปะใดๆ ก็สู้ความจริงใจไม่ได้
     จงประหยัด "คำติเตียน" แต่อย่าตระหนี่ "คำติชม"

󾀿+ การอภัยให้แก่กันในวันนี้ ดีกว่าอโหสิให้กันตอนตาย

󾀿+ ถ้าคิดทำความดี ให้ทำได้ทันที
     ถ้าคิดทำความชั่ว ให้เลิกคิดทันที ถ้าเลิกคิดไม่ได้ ก็อย่าทำวันนี้ ให้ผลัดวันไปเรื่อยๆ

󾀿+ ถึงจะรู้ร้อยเรื่องพันเรื่อง ก็ไม่สู้รู้เรื่องดับทุกข์
     โลกสว่างด้วยแสงไฟ ใจสว่างด้วยแสงธรรม
     แสงธรรมส่องใจ แสงไฟส่องทาง

󾀿+ "ผู้สนใจธรรม สู้ผู้รู้ธรรมไม่ได้
     ผู้รู้ธรรม สู้ผู้ปฎิบัติธรรมไม่ได้
     ผู้ปฎิบัติธรรม สู้ผู้ที่เข้าถึงธรรมไม่ได้"...

󾀿+ "มีทรัพย์มาก ย่อมมีความสะดวกมาก
     มีธรรมะมาก ย่อมมีความสุขมาก"...

󾀿+ "เมื่อก่อนยังไม่มีเรา เราเพิ่งมีมาเมื่อไม่นานมานี้เอง และอีกไม่นานก็จะไม่มีเราอีก
     จึงควรรีบทำดี ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่"...
สิ่งควรรู้  ก่อนนอน
□□...มีคนจำนวนมาก กลางวันไม่เป็นอะไร แต่พอกลางคืน กลับเสียชีวิต  เนื่องจากกลางคืนลุกจากที่นอนไปเข้าห้องน้ำเร็วเกินไป
□การลุกจากที่นอนอย่างกระทันหันทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ความดันโลหิตลดต่ำ จนวิงเวียนล้มลงไป บางคนถึงกับกระดูกกะโหลกศีรษะแตก

ส่วนบางคน...
□หัวใจมีปัญหา กลางวันเต้นเป็นปกติ แต่กลางคืนกลับขาดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หัวใจหดตัวเนื่องจากลุกจากที่นอนอย่าง กระทันหัน ความดันโลหิตลดต่ำลงขาดเลือด ไปเลี้ยงสมอง □หัวใจก็หยุดเต้นได้
ถึงแม้จะไม่เสียชีวิตก็กลายเป็นโรคอัมพฤกษ์ไปก็มี

□นักวิทยาศาสตร์ มักจะย้ำประโยคหนึ่งอยู่เสมอๆ ว่า
“ครึ่งนาที 3 อย่าง และครึ่งชั่วโมง 3 อย่าง“

□วลีนี้เป็นวลีสำคัญ ที่ไม่ต้องเสียเงินหามา แต่ช่วยลดจำนวนผู้เสียชีวิตได้ เป็นจำนวนมาก

□ครึ่งนาที 3 อย่าง หมายถึง
□1.เมื่อตื่นนอนขึ้นมาแล้ว อย่าลุกจากที่นอนในทันที ให้นอนไว้ก่อนครึ่งนาที
□2.เมื่อนั่งขึ้นมาก็ให้นั่งอีกครึ่งนาที
□3.แล้วเอาขาทอดไว้ที่พื้นอีกครึ่งนาที

□ส่วนครึ่งชั่วโมง 3 อย่าง หมายถึง
□1. ตื่นขึ้นมาตอนเช้า ควรออกกำลังกายครึ่งชั่วโมง (หนักเบา แล้วแต่ละบุคคล)
□2. ตอนเที่ยง ควรนอนกลางวัน ประมาณ ครึ่งชั่วโมง ตอนบ่ายจะมีพละกำลังเต็มที่ (เพราะผู้สูงอายุมักจะตื่นนอนแต่เช้า กลางวันจึง ควรพักผ่อนให้มาก)
□3. ตอนเย็น ผู้สูงอายุควรเดินช้าๆ สักครึ่งชั่วโมง
จะทำให้ตอนกลางคืนหลับสบาย สามารถลดอัตรา
การเป็นโรคที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจตีบและความ
ดัน โลหิตสูงได้

□ขอให้ส่งต่อญาติสนิทมิตรสหาย
เพราะว่าความรู้นี้ สอนคนได้ ช่วยคนก็ได้
4วิธีง่ายๆในการปฐมพยาบาลดังข้างล่างนี้
□1.สำลักอาหาร
วิธีจัดการ----แค่ยกมือขึ้นไป
□2 ตกหมอน
คุณเคยตื่นขึ้นมาตอนเช้าแล้วพบว่าตัวเองตกหมอนนั้น
ก็คือปวดคอ ถ้าหากตกหมอน คุณควรทำอย่างไร
ถ้าหากตกหมอน แค่ยกขาขึ้นมา
จับนิ้วโป้งของเท้า
ค่อยๆนวดและหมุนตามเข็มนาฬิกาหรือทวนเข็มนาฬิกา
□3. ขาเป็นตะคริว
เวลาขาซ้ายเป็นตะคริว  ให้ยกมือขวาขึ้นสูงๆ
เวลาขาขวาเป็นตะคริว ให้ยกมือซ้ายขึ้นสูงๆ จะรู้สึกสบายผ่อนคลายทันที
□4.  ขาชา
ถ้าขาซ้ายชา
สบัดมือขวาจากช้าไปหาเร็ว
ถ้าขาขวาชา
ก็สบัดมือซ้ายจากช้าไปเร็ว
ช่วยส่งต่อเถอะ ได้บุญกุศลมากมาย












วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สมุดเล่มที่๐๑

เจ้าจอมพิศว์ ในรัชกาลที่ 5 เกิดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2413 ตรงกับวันเสาร์ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ปีมะเมีย ณ บ้านหน้าวัดประยูรวงศาวาส ธนบุรี เป็นธิดาอันดับที่ 2 ของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) และ ท่านผู้หญิงเปลี่ยน (สกุลเดิมชูโต) มีพี่น้อง 5 คน คือ

    จมื่นศรีสรรักษ์ (เพ่ง บุนนาค)
    ท่านเจ้าจอมพิศว์ ในรัชกาลที่ 5
    นายราชาณัตยานุหาร (พาสน์ บุนนาค)
    หม่อมพัฒน์ รัชนี ในกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
    คุณหญิงพวง ดำรงราชพลขันธ์

ในสมัยที่เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ มีตำแหน่งหน้าที่เป็นจางวางมหาดเล็ก และราชเลขาธิการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เวลาท่านเข้าวังมักจะพาเจ้าจอมพิศว์ไปด้วยเสมอ ท่านจึงมีโอกาสเข้าเฝ้าใกล้ชิดพระยุคลบาทและคุ้นเคยกับเจ้านายทั้งฝ่ายหน้าฝ่ายในแต่อายุ 13 ขวบ เมื่อคราวงานพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้คุณจอมทำหน้าที่เป็นนางเชิญมยุรฉัตร เข้ากระบวนแห่ในงานพระราชพิธีนั้น ได้มีพระราชกระแสขอต่อเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ ท่านจึงได้ให้ท่านผู้หญิงเปลี่ยน นำคุณพิศว์เข้าเฝ้าถวายตัวรับราชการฝ่ายในแต่นั้นมา โดยอยู่ที่ตำหนักเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ ผู้เป็นญาติ

เจ้าจอมพิศว์ รับราชการฉลองพระเดชพระคุณมานานกว่า 30 ปี จนสิ้นรัชกาลที่ 5 แล้ว ท่านยังคงรับราชการในพระบรมมหาราชวังตลอดมา จนกระทั่ง ท่านผู้หญิงเปลี่ยนถึงอนิจกรรมจากการถูกทหารเรือฟันเป็นบาดแผลสาหัสนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชปรารภว่า "เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ มีอายุล่วงเข้าวัยชรามากแล้ว เวลาป่วยไข้ลงจะลำบาก ไม่มีใครดูแลปรนนิบัติ เพราะบุตรธิดาอื่นต่างมีครอบครัวไปหมด" พระองค์ทรงสงสารเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ จึงโปรดให้คุณจอมออกไปช่วยดูแลการงานทางบ้าน แต่ยังคงให้มีหน้าที่ราชการฝ่ายในตามเดิม ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่สนองพระคุณเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ตลอด 15 ปี จนท่านเจ้าพระยาผู้เป็นบิดาถึงแก่อสัญกรรม

เจ้าจอมพิศว์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตติยจุลจอมเกล้า เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 3 และหีบหมากทองคำลงยา อันมีเกียรติเท่าชั้นเจ้าจอมมารดา นอกจากนี้ ยังได้รับพระราชทานเข็มพระบรมรูปอักษรพระปรมาภิไธยย่อ จปร ทองคำฝังเพชร และของที่ระลึกอื่นๆอีกมาก

ในทางพระศาสนาได้บริจาคเงินบำรุงโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดประยูรวงศาวาส และบำเพ็ญกุศลอีกมากตลอดอายุ

เจ้าจอมพิศว์เป็นผู้มีงานอดิเรกมากมาย ท่านเป็นคนชอบเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสุนัข ตั้งแต่ยังอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ท่านเคยได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 5 มาตัวหนึ่ง ชื่อเนล ท่านเลี้ยงจนเก่ง สอนให้ไปซื้อขนมก็ได้ โดนส่งเงินให้คาบไปจ้องขนมที่จะซื้อตรงหน้า จนผู้ขายเข้าใจและหยิบให้จึงจะคายอัฐให้ผู้ขาย คาบห่อขนมกลับมา เมื่ออกมานอกวังท่านก็ยังเล่นต่อ ท่านมีสารพัดพันธุ์ชนิดตั้งแต่พันธุ์ไทยถึงพันธุ์เทศราคาแพงๆ ว่ากันว่านกแก้วมากัวที่ท่านเลี้ยงนั้น เป็นตัวแรกที่มีในประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] และยังเป็นผู้ริเริ่มเล่นปลาตู้คนแรกด้วย[ต้องการอ้างอิง] โดยทำเป็นซีเมนต์มีกระจกข้างหน้าขนาดใหญ่พอดู 2-3 ตู้ เลี้ยงทั้งปลาไทยปลาเทศ

ในด้านการบันเทิง ท่านชอบดูภาพยนตร์เป็นประจำ และชอบสะสมรูปที่สอดมาในซองบุหรี่ หรือเรียกว่ายากาแรต ท่านมีเป็นชุดๆมากมายหลายสิบอัลบั้ม นับว่าท่านเป็นนักสะสมรูปยากาแรตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของเมืองไทย[ต้องการอ้างอิง] ร้านค้ารูปยังเป็นรองท่านฝีมือทางด้านการครัว[ต้องการอ้างอิง] ย่อมเป็นเอกในฐานะบุตรีของท่านผู้หญิงเปลี่ยน เจ้าของหนังสือตำรา "แม่ครัวหัวป่าก์" อันโด่งดัง ท่านมีฝีมือมากในด้านการต้มหมูแฮม ซึ่งเป็นสูตรพระราชทานจากรัชกาลที่ 5 สูตรน้ำพริก ท่านก็มีมากมายหลายสิบสูตร อีกทั้งยังมีความสามารถในการแกะสลักผักอีกด้วย

บั้นปลายชีวิตท่านย้ายบ้านจากหน้าวัดประยูรวงศ์ ไปอยู่ถนนเพชรบุรี ถนนสุขุมวิท และ ถนนเอกมัย ตามลำดับ จนในที่สุด ก่อนถึงอนิจกรรม ท่านได้ไปพำนัก ณ จังหวัดนครราชสีมา กับหลาน ของท่าน และถึงอนิจกรรมโดยกะทันหัน เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 สิริรวมอายุได้ 95 ปี ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ในการศพ จนถึงพระราชเพลิง ณ เมรุวัดประยุรวงศาวาส

เครื่องราชอิสริยาภรณ์



เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 3 (จ.ป.ร.3)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การร่ายรำของสี่ภาค

การแสดงนาฏศิลป์ไทย มีท่ารำที่อ่อนช้อยและเป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันไปตามลักษณะประจำถิ่น

นาฏศิลป์ หมายถึงศิลปะการแสดงประกอบดนตรีเช่น ฟ้อน รำ ระบำ โขน เทศของแต่ละท้องถิ่น ความเชื่อ ศาสนา ภาษา นิสัยใจคอของผู้คน ชีวิตความเป็นอยู่ แต่ละภาคมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ภาคเหนือ

ภาคนี้มีการแสดงหรือการร่ายรำที่มีจังหวะช้า ท่าหยาบนุ่มนวล เพราะมีอากาศเย็นสบาย ทำให้จิตใจของผู้คนมีความนุ่มนวล อ่อนโยน ภาษาพูดก็นุ่มนวลไปด้วย เพลงมีความไพเราะ อ่อนหวาน ผู้คนไม่ต้องรีบร้อนในการทำมาหากิน สิ่งต่างๆ เหล่านั้นมีอิทธิพลต่อการแสดงนาฏศิลป์ของภาคเหนือ

นาฏศิลป์ของภาคเหนือเช่น ฟ้อนเมือง(ฟ้อนเล็บ ฟ้อนก๋ายลาย)ฟ้อนเทียน ฟ้อนจ้อง ฟ้อนวี ฟ้อนขันดอก ฟ้อนดาบ ฟ้อนเชิง(ฟ้อนเจิง)ตีกลองสะบัดไชย ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนน้อยไจยา ฟ้อนหริภุญชัย ฟ้อนล่องน่าน ฟ้อนแง้น เป็นต้น นอกจากนี้ นาฏศิลป์ของภาคเหนือยังได้รับอิทธิพลจากประเทศใกล้เคียง ได้แก่ พม่า ลาว จีน และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ไทยใหญ่ เงี้ยว ชาวไทยภูเขา ยอง เป็นต้น

ดังนั้น นาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือนอกจากมีของที่เป็น "คนเมือง" แท้ๆ แล้วยังมีนาฏศิลป์ที่ผสมกลมกลืนกับชนชาติต่างๆ และของชนเผ่าต่างๆ อีกหลายอย่าง เช่น อิทธิพลจากพม่า เช่น ฟ้อนกำเบ้อ ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา นาฏศิลป์ของชนเผ่าต่างๆ เช่น ฟ้อนนก (กิงกาหล่า - ไทยใหญ่) ฟ้อนเงี้ยว (เงี้ยว) ระบำซอ ระบำเก็บใบชา(ชาวไทยภูเขา) ฟ้อนไต ฟ้อนไตอ่างขาง ฟ้อนนกยูง เป็นต้น

ฟ้อนขันดอก
ฟ้อนขันดอก เป็นการแสดงที่ มีจุดประสงค์ในการแสดงเพื่อเป็นการฟ้อนรำบูชาพระรัตนตรัย เพื่อให้บังเกิดความสงบร่มเย็นให้แก่บ้านเมือง โดยมีอุปกรณ์ประกอบการแสดงเป็นขันดอก หรือพานไม้ใส่ดอกไม้แบบล้านนา ซึ่งใช้ตบแต่งเพื่อบูชา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในงานบุญทางศาสนา โอกาสต่าง ๆ


ภาคนี้โดยทั่วมักเรียกว่าภาคอีสาน ภาคอีสาน ภูมิประเทศภาคอีสานเป็นที่ราบสูง ค่อนข้างแห้งแล้งเพราะพื้นดินไม่เก็บน้ำ ฤดูแล้งจะกันดาร ฤดูฝนน้ำจะท่วม แต่ชาวอีสานก็มีอาชีพทำไร่ทำนา และเป็นคนรักสนุกและขยัน อดทน

กลองตุ้ม

เพลงพื้นเมืองอีสานจึงมักบรรยายความทุกข์ ความยากจน ความเหงา ที่ต้องจากบ้านมาไกล ดนตรีพื้นเมืองแต่ละชิ้นเอื้อต่อการเล่นเดี่ยว การจะบรรเลงร่วมกันเป็นวงจึงต้องทำการปรับหรือตั้งเสียงเครื่องดนตรีใหม่เพื่อให้ได้ระดับเสียงที่เข้ากันได้ทุกครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม คนอีสานก็พยายามหาความบันเทิงในทุกโอกาส เพื่อผ่อนคลายความไม่สบายใจหรือสภาพความทุกข์ยากอันเนื่องจากสภาพธรรมชาติ เครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสาน เช่น พิณ แคน โหวด โปงลาง หืน ซอ ปี่ไม้ซาง กลองตุ้ม กลองยาว เป็นต้น ทำนองเพลงพื้นเมืองอีสานมีทั้งทำนองที่เศร้าสร้อยและสนุกสนาน เพลงที่มีจังหวะเร็วนั้นถึงจะสนุกสนานอย่างไรก็ยังคงเจือความทุกข์ยากลำบากในบทเพลงอยู่เสมอ ทำนองเพลงหรือทำนองดนตรีเรียกว่า “ลาย” เช่น ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลายนกไส่บินข้ามท่ง ลายลมพัดพร้าว ลายน้ำโตนตาด เป็นต้น

การขับร้องเรียกว่า “ลำ” ผู้ที่มีความชำนาญในการลำเรียกว่า “หมอลำ” ลำมีหลายประเภท เช่น ลำกลอน ลำเพลิน ลำเรื่องต่อกลอน ลำผญา(ผะหยา) ลำเต้ย เป็นต้น ส่วนบทเพลงหรือลายบรรเลงก็มาจากภูมิปัญญาชาวที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านดนตรีโปงลาง เช่นอาจารย์ทรงศักดิ์ ปทุมสิน ซึ้งเป็นผู้เชี่ยวทางด้านโหวด และอาจารย์ทองคำ ไทยกล้า เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้าน แคน


ตารีกีปัส
ภาคใต้

ภาคใต้ เป็นดินแดนที่ติดทะเลทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออก ทางด้านใต้ติดกับมลายู ทำให้รับวัฒนธรรมของมลายูมาบ้าง ขนบประเพณีวัฒนธรรมและบุคลิกบางอย่างคล้ายคลึงกัน คือ พูดเร็ว อุปนิสัยว่องไว ตัดสินใจ รวดเร็ว เด็ดขาด การแต่งกาย การแสดง เพลง และดนตรีคล้ายคลึงกันมาก นาฏศิลป์ของชาวไทยภาคใต้ แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือการแสดงพื้นบ้านและระบำพื้นบ้าน การแสดงพื้นบ้าน สามารถแบ่งออกออกตามลักษณะของพื้นที่ ดังนี้

    พื้นที่ ภาคใต้ตอนบน ได้แก่ โนรา เพลงบอก เพลงเรือ คำตัก เพลงชาน้อง
    พื้นที่ ภาคใต้บริเวณลุ่มนำทะเลสาบสงขลา ได้แก่ โนรา หนังตะลุง กาหลอ โต๊ะครึม(นายลิมนต์) เพลงเรือ
    พื้นที่ ชายฝั่งทะเลอันดามัน ลิเกป่า รองเง็งชาวเล รองเง็งตันหยง กาบง กาหยง ดาระ
    พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง รองเง็งปัตตานี ดิเกร์ฮูลู ซีละ มะโย่ง(บือดีกา) บานอ กรือโต๊ะ ตือตรี

ส่วนระบำพื้นบ้าน ได้แก่ ตารีกีปัส ระบำร่อนแร่ ระบำกรีดยาง เป็นต้น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กำลังสนใจค้นหาเรื่องของเจ้าชาย 광해군 光海君 จากซีรีย์เกาหลี The king's face

องค์ชายควังแฮกุน ผู้แสดง Suh In Gookdrama 'The King's Face' 
ตามประวัติศาสตร์ของเกามีว่า องค์ชายควังแฮกุน ( 광해군 光海君; ค.ศ. 1574 — ค.ศ. 1641) เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 15 แห่งราชอาณาจักรโชซอน โดยทรงครองราชย์ในช่วงปี ค.ศ. 1608 — ค.ศ. 1623 แต่ทรงไม่ได้รับพระนามกษัตริย์เนื่องจากถูกยึดอำนาจจากฝ่ายตะวันตกใน ค.ศ. 1623 ในฐานะองค์ชายรัชทายาทองค์ชายควังแฮทรงยืนหยัดนำทัพเกาหลีต่อต้านการบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135–2141) ในขณะที่พระเจ้าซอนโจพระบิดาทรงหลบหนีไปยังประเทศจีน หลังการรุกรานของญี่ปุ่นองค์ชายควังแฮได้รับการสนับสนุนจากขุนนางฝ่ายเหนือใหญ่หรือแทบุก (เกาหลี: 대북 大北) ให้ขึ้นครองราชสมบัติ แต่ทรงถูกต่อต้านโดยขุนนางฝ่ายเหนือเล็กหรือโซบุก (เกาหลี: 소북 小北) ที่สนับสนุนองค์ชายยองชัง พระอนุชาต่างมารดาที่ประสูติจากพระมเหสี ในรัชสมัยของพระองค์ขุนนางฝ่ายเหนือใหญ่ได้ทำการปราบปรามขุนนางฝ่ายเหนือเล็กอย่างรุนแรงรวมทั้งผลักดันให้มีการสำเร็จโทษประหารชีวิตองค์ชายยองชังและกักขังพระพันปีอินมก จนเป็นข้ออ้างให้ขุนนางฝ่ายตะวันตกก่อการรัฐประหารในปีค.ศ. 1623 ล้มองค์ชายควังแฮลงจากราชบัลลังก์และเนรเทศไปยังเกาะคังฮวาในที่สุด

  อันที่จริง เจ้าชายควังแฮ ได้ทำประโยชน์ไว้มากแก่ประเทศ และช่วงที่ญี่ปุ่นรุกราน หรือ สงคราม เจ็ดปี ก็เพราะ เจ้าชายควังแฮ เป็นยืนเคียงข้างกับประชาชน กอบกู้ สู้รบกับข้าศึก ส่วนท่านพ่อของ เจ้าชายควัง แฮ หอบลูกหอบเมียหนีศึกไปอยู่ประเทศจีน พอศึกสงบ ก็กลับมานั่งบัลัลก์ต่อ

 คิมชังกุง

บุคคลสำคัญ

หมอโฮจุน เป็นแพทย์หลวงในราชสำนัก เขียนหนังสือเรื่อง ทงอึยโพกัม (ความวิเศษของการแพทย์ตะวันออก) เริ่มเขียนในพ.ศ. 2139 แต่หยุดไปด้วยสงครามเจ็ดปี และเสร็จสิ้นในพ.ศ. 2152 สมัยองค์ชายควางแฮ องค์ชายควางแฮทรงโปรดปรานซังกุงคนหนึ่งมา ชื่อว่า คิมคเยชิ หรือ คิมซังกุง พอพระองค์ทรงครองราชย์ทรงแต่งตั้งเป็น พระสนมซุกวอน ตระกูลคิม

ในเรื่อง The King's Face' มีนางสนมคนหนึ่ง ประวัติน่าสนใจมาก คือเป็นรักเก่าของเจ้าชายเจ้าชายควังแฮ แต่คงเพราะความสวย ฉลาด ร่วมอื่นๆ เป็นที่ต้องใจของพระราชบิดา:พระเจ้าซอนโจ ด้วย.. แต่ในซีรีย์ คงให้เกียรติ สนมนางคิมคเยชิ หรือ คิมซังกุง และด้วยความฉลาดของเธอเป็นหลัก   คิมซังกุ ปฏิเสธการรับใช้กษัตริย์เรื่องบนเตียง โดยที่บอกว่า เธอจะรักคนที่ฆ่า บิดา มาดาร ของเธอได้อย่างไร...

    และตามประวัติศาสตร์ เขียนไว้ว่า เมื่อ เจ้าชายควังแฮ ขึ้นครองราช ก็ได้แต่ตั้งเธอ ขึ้นเป็น สนมด้วยคนหนึ่ง แต่คงเป็นเพราะเรื่องใดก็ไม่ทราบ พระสนมซุกวอน ตระกูลคิม (숙원 김씨) พระนามเดิมว่า คิม แคซี ภายหลังถูกปลดจากตำแหน่งพระสนม... จากการสังเกตุดู เรื่องราวในรั่ววังเกาหลีสมัยก่อน มีการอิจฉาแช่งชิง ฆ่า ล้างแค้นหักหลัง เป็นเรื่องปกติ กษัตริย์มีสนมเยอะมาก มีเยอะตาม ลูกๆรอคอยการได้รับตำแหน่งรัชทายาทต่อ พี่-น้อง ต้องรบฆ่ากันเอง..ฯลฯ

จะเห็นได้ว่า เรื่องราวประวัติศาสตร์ช่วงของ พระเจ้าซอนโจ และ จ้าชายควังแฮ และสนม คิม แคซีหรือคิมซันกุง ถูกนำมาสร้างเป็นหนังหรือซีรีย์เยอะมากๆ

และจากตามติดดูหลายๆเรื่อง ชีวิตของ สนมคิม ช่วงที่ได้รับเข้าเป็นนางสนิมของ เจ้าชาย วังแฮ สมัยนั้นนางมีอิทธิพลต่อความคิด และเป็นที่ปรึกษาให้แก่ เจ้าชายวังแฮ เป็นอย่างมาก

ตามประวัติที่บันทึกไว้ว่า ตอนที่เจ้าชายวังแฮ ถูกเนรเทศไปอยู่ โดนปฏิวัติโดยฝ่ายตรงข้าม สนมคิม ถูกจบชีวิตด้วยการถูกประหาร

เรื่องของอำนาจ หารเมือง บัลลัง?ไม่ว่าที่ไหน ยุคไหน ประเทศไดๆในโลก มันคล้ายๆกันหมดจริงๆ

曹丕พระโอรสองค์รองในพระเจ้าโจโฉ

พระเจ้าโจผี หรือ เฉาพี้ ( 曹丕; พินอิน: Cáo Pi) พระนามรอง จื่อหวน เป็นพระโอรสองค์รองในพระเจ้าโจโฉ ได้สืบต่อตำแหน่ง วุยอ๋อง และอำนาจต่อหลังจากโจโฉสิ้นพระชนม์ไปแล้ว ภายหลังจึงได้ล้มล้างราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ปราบดาภิเษกเป็นปฐมจักรพรรดิของราชวงศ์เว่ย (วุยก๊ก) ทรงพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเว่ยเหวินตี้ (จีน: 曹魏文帝; พินอิน: Cáo Wèi Wéndì - จักรพรรดิแห่งเว่ย) ในปี ค.ศ. 220

โจผีนั้นเป็นบุตรคนรอง แต่ก็ได้มีบทบาทในการสืบทอดอำนาจจากโจโฉ เนื่องจากบุตรชายคนโต คือ โจงั่ง ได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ยังอายุน้อยในการติดตามโจโฉไปทำสงคราม ในนิยายสามก๊กได้ โจโฉได้กล่าวถึงโจผี ว่าเป็นคนมีปัญญา จิตใจหนักแน่น โอบอ้อมอารีย์ จึงสมควรจะเป็นสืบทอดอำนาจของตน โจผีเป็นผู้เชี่ยวชาญในการแต่งกลอน กาพย์กวี เช่นเดียวกับโจโฉผู้บิดา และยังได้เคยติดตามบิดาออกไปทำสงครามบ่อยครั้ง ตั้งแต่ยังเยาว์ โจผีมีภรรยาหลวง คือนางเอียนสี ซึ่งได้ตัวมาเมื่อครั้งที่โจโฉทำสงครามกัวต๋อกับตระกูลอ้วน นางเอียนสีนั้นเป็นสาวงามที่มีชื่อว่า เป็นหญิงงามแห่งแผ่นดินทางเหนือ และยังเป็นภรรยาม่ายของอ้วนฮี บุตรชายของอ้วนเสี้ยว คู่ศึกของโจโฉ จึงย่อมถือเป็นเชลยศึก แต่โจผีก็ได้รับนางมาตกแต่งเป็นภรรยาหลวง ในขณะนั้นโจผีอายุได้ 17 ปี ขณะที่นางเอียนสีอายุมากกว่า คือ 22 ปี ซึ่งภายหลังเมื่อโจผีได้ขึ้นครองราชย์ ก็ได้สถาปนานางเป็นฮองเฮาด้วย

เนื่องจากการที่โจผีขึ้นครองราชย์ สถาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้ จึงทำให้ซุนกวนและเล่าปี่ต้องสถาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้ตามไปด้วย ก่อให้เกิดสภาพของสามก๊กอย่างแท้จริง

พระเจ้าโจผีเมื่อได้ปราบดาภิเษกเป็นฮ่องเต้ในเบื้องแรกนั้นก็ได้ทรงดำริจะทำการกวาดล้างศัตรูทุกคน รวมไปถึงพระอนุชา คือ โจสิด ซึ่งมีสติปัญญา และฝีมือในเชิงการกวี เช่นเดียวกับพระองค์ และเคยเป็นคู่แข่งในการแต่งตั้งรัชทายาทของโจโฉด้วย แต่โจสิดสามารถเอาตัวรอดได้ โดยการแต่งโคลงมีใจความว่า ต้นถั่วเผาต้นถั่ว ในกระทะถั่วร้องไห้ กำเนิดจากรากเดียวกัน เหตุไฉนคิดทำลาย มีความหมายถึง การที่พี่น้องซึ่งมาจากจุดกำเนิดเดียวกัน กลับต้องมาสังหารเข่นฆ่ากัน ด้วยเหตุใด ทำให้พระเจ้าโจผีสะเทือนพระทัย และไม่อาจสังหารพระอนุชาได้ ซึ่งโคลงบทกวีที่โจสิดแต่งขึ้นเพื่อเอาชีวิตรอดนี้มีชื่อเสียงมาก

พระเจ้าเว่ยเหวินตี้ โจผี เป็นฮ่องเต้ที่ครองราชย์ในระยะอันสั้นเพียง 7 ปี เท่านั้น ก็ทรงพระประชวร และเสด็จสวรรคต ในปี ค.ศ. 226



พระราชวงศ์

    พระอัยกา โจโก๋
    พระราชบิดา โจโฉ
    พระราชมารดา นางเปี้ยนสี
    พระเชษฐา โจงั่ง
    พระอนุชา
        โจเจียง
        โจสิด
        โจหิม
    ภรรยาหลวง เอียนสี
    พระราชโอรส โจยอย

ภาพวาดโจผีในยุคราชวงศ์ถัง
จักรพรรดิแห่งราชวงศ์วุย
ประสูติ     พ.ศ. 730
สวรรคต     29 มิถุนายน พ.ศ. 769 (38 - 39 พรรษา)
ทรงราชสมบัติช่วง     พ.ศ. 763 - พ.ศ. 769
จักรพรรดิองค์ก่อนหน้า     โจโฉ
จักรพรรดิองค์ถัดไป     โจยอย
พระนาม
อักษรจีนตัวเต็ม     曹丕
อักษรจีนตัวย่อ     曹丕
พินอิน     Cáo Pī
สำเนียงจีนกลาง     เฉาพี้
สำเนียงจีนฮกเกี้ยน     โจผี
สัทอักษรแบบเวด-ไจลส์     Tsao P`i
พระนามรอง     จื่อหวน
ชื่อวัดประจำตระกูล     Gaozu
credit:จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู

สมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู (Han Gao Zu, 高祖) หรือ ฮั่นเกาซู หรือ ฮั่นโกโจ (ตามสำเนียงแต้จิ๋ว) ปฐมจักรพรรดิผู้สถาปนาราชวงศ์ฮั่น มีพระนามเดิมว่า หลิวปัง (Liu Bang, 劉邦) หรือ เล่าปัง (ในสำเนียงแต้จิ๋ว) โดยมีกำเนิดเป็นลูกชาวนายากจน เกิดในอำเภอเพ่ยเสี้ยน (ปัจจุบันอยู่ทางเหนือของ มณฑลเจียงซู) เข้าร่วมกับทางการปราบโจรผู้ร้ายในยุควุ่นวายของบ้านเมืองในปลาย ราชวงศ์ฉิน มีตำแหน่งเป็นนายหมวดปราบโจรผู้ร้าย

โค่นล้มราชวงศ์ฉิน

กล่าวกันว่าพระองค์เป็นคนใจกว้าง เนื่องจากเห็นใจแรงงานที่ถูกเกณฑ์ จึงแอบปล่อยพวกแรงงานที่ถูกเกณฑ์มาให้เป็นอิสระ ทำให้ตัวเองจำต้องหลบหนีไปจากบ้านเกิด ในปี 209 ก่อนคริสต์ศักราช ได้ก่อการกบฏด้วยการรวบรวมสมัครพรรคพวก เข้ายึดเพ่ยเสี้ยนซึ่งเป็นบ้านเกิดของตนหลังจากเฉิ่นเซิ่งกับอู๋กว่างได้ก่อกบฏขึ้นก่อน ต่อมาได้ยกทัพบุกเข้าเสียนหยาง เมืองหลวงของราชวงศ์ฉินและโค่นล้มการปกครองของราชวงศ์ฉิน ในที่สุด


เมื่อพระองค์ได้เข้าครองเมืองเสียนหยางเรียบร้อยแล้ว ก็ไม่ได้ทำร้ายหรือเข่นฆ่าพวกเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์ฉินแต่อย่างใด แต่กลับสั่งการให้เก็บรักษาทรัพย์สมบัติในพระราชวังและวังอื่น ๆ ตลอดจนท้องพระคลังของราชวงศ์ฉินไว้อย่างดี นอกจากนั้น ยังห้าม ทหารของตนปล้นชิงทรัพย์สินที่มีค่าจากประชาชน ขณะเดียวกัน ตนเองก็ไม่รับของมีค่าที่ชาวเมืองมอบให้ ยิ่งกว่านั้น พระองค์ยังประกาศยกเลิกกฎหมายเก่าสมัยฉินซีฮ่องเต้ที่ได้บัญญัติโทษไว้โหดร้ายทารุณมาก เช่น ใครฆ่ากันตายต้องประหารชีวิตสามชั่วโคตร เป็นต้น โดยให้ใช้ "กฎหมายใหม่" ของตนที่เรียกว่า "บัญญัติ 3 ประการ" แทนกล่าวคือ "ฆ่าคนต้องชดใช้ชีวิตทำร้ายร่างกายหรือ โจรกรรมทรัพย์สินต้องชดใช้ความเสียหาย" ด้วยเหตุนี้ หลิวปังจึงได้รับการสนับสนุนจากประชาชนทั่วไป

สงคราม ฉู่-ฮั่น

ต่อมาภายหลัง หลิวปังสู้รบเป็นเวลากว่า 4 ปี กับกองทัพที่นำโดย เซี่ยงอวี่ หรือฌ้อป้าอ๋อง ซึ่งเป็นกองกำลังอีกกองหนึ่งที่ลุกขึ้นต่อต้านราชวงศ์ฉินเช่นกัน ใน 202 ปีก่อนคริสตกาล หลิวปังได้นำกำลังทหารจำนวน 3 แสนนายปิดล้อมกองทัพของเซี่ยงอวี่ ทำให้เซี่ยงอวี่จนมุมและต้องฆ่าตัวตายริมแม่น้ำในที่สุดหลิวปังได้รับชัยชนะเบ็ดเสร็จและสถาปนาราชวงศ์ฮั่นขึ้นที่มณฑลซานตงในปัจจุบัน เมื่อ 202 ปีก่อนคริสตกาล

ในการต่อสู้กับเซียงอวี่ หรือ ฌ้อป้าอ๋อง นี้ ได้รับการกล่าวขานอย่างมากจนถึงปัจจุบัน ถูกเรียกว่า "สงคราม ฉู่-ฮั่น" (Chu-Han contention, 楚漢相爭) เป็นการรบกันระหว่างแคว้นฉู่กับแคว้นฮั่น ท้ายสุดแคว้นฮั่นของหลิวปังก็ชนะ ด้วยหลิวปังได้รับการสนับสนุนทั้งทางด้านบู๊ จาก ฮั่นสิน นายทหารที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นยอดขุนพล ซึ่งมีการเล่าขานต่อมาในยุคหลัง เช่น สามก๊ก เป็นต้น และทางการบุ๋นการปกครองบ้านเมือง ก็ได้รับการสนับสนุนจาก เตียวเหลียง และเซี่ยวเหอ ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดเสนาบดีอีกเช่นกัน

ขึ้นครองราชย์

หลิวปัง ได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองและนักปกครองชั้นยอด กล่าวกันว่าครั้งหนึ่ง เมื่อได้ขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์เคยตรัสว่า
   

    ความคิดอ่านสติปัญญาในการวางแผนข้าสู้เตียวเหลียงไม่ได้ ฝีมือในการสู้รบและนำทัพข้าก็สู้ฮั่นสินไม่ได้ ความรู้ความสามารถในการระดมพล ฝึกพล และสนับสนุนเสบียงอาหารแก่กองทัพข้าก็สู้เซียวเหอไม่ได้ แต่ความสามารถในการใช้ทั้งเตียวเหลียง ฮั่นสิน และเซียวเหอไม่มีใครสู้ข้าได้ นี่คือเหตุผลที่ทำให้กองทัพของเราได้รับชัยชนะ

   

ซึ่งประโยคนี้นับได้ว่า พระองค์เป็นยอดนักบริหารและรู้จักหลักการใช้คนอย่างแท้จริง

เมื่อหลิวปังสถาปนาราชวงศ์ซีฮั่น (ฮั่นตะวันตก) แล้วก็ได้ใช้มาตรการต่าง ๆ ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและทำการผลิต เนื่องจากสงครามได้ยืดเยื้อเป็นเวลาหลายปีจนทำให้จำนวนประชากรลดน้อยลง ตามที่ลู่เจี่ยทูลเสนอ หลิวปังดำเนินนโยบายนุ่มนวลกว่าสมัยราชวงศ์ฉิน ปลดระวางทหารให้กลับบ้านเพื่อทำไร่ไถนา ยกเว้นการเกณฑ์แรงงาน (หมายถึงการที่ชนชั้นปกครองในสมัยโบราณบีบบังคับกะเกณฑ์ ประชาชนมาทำงานให้โดยไม่มีค่าตอบแทน) เป็นเวลาหลายปีเพื่อจะสามารถทำการเพาะปลูกให้ได้ผล อนุญาตให้บรรดาผู้ลี้ภัยสงคราม กลับคืนสู่ถิ่นฐานของตน โดยคืนบ้านและที่ดินให้ตามเดิม ให้อิสรภาพแก่ผู้ที่ต้องขายตัวเป็นทาสเพื่อจะได้ไม่อดตายและลดภาษีที่ดินลง ภาษีรัชชูปการก็ลดลง เช่นกัน

ทางด้านปัญหาการปกครองอาณาจักรนั้น ในชั้นต้น หลิวปังใช้การปกครองที่ผสมผสานกันระหว่างการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่อำนาจส่วนกลางซึ่งองค์จักรพรรดิฉินซีฮ่องเต้เคยใช้กับการกระจาย อำนาจโดยแต่งตั้งขุนพลที่มีความดีความชอบเป็นพิเศษในสงคราม และเชื้อพระวงศ์สำคัญๆให้เป็นเจ้าหรือหวางไปครองเมืองโดยมีอำนาจ ปกครองดินแดนเขตแคว้น ศักดินาหรือเรียกว่า "ฟงกั๋ว" เวลาต่อมา หลิวปังเริ่มกำจัดพวก "หวาง" ที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ไปหมดและแต่ง ตั้ง "หวาง" ขึ้นใหม่ 9 องค์ด้วยกัน ล้วนเป็นเชื้อพระวงศ์แซ่หลิวหรือเล่าทั้งสิ้น (ฮ่องเต้ราชวงศ์ฮั่นทั้งหมด จึงเป็นแซ่เล่าทั้งหมด จนกระทั่งถึงสมัยสามก๊ก)

หลิวปังในวัยหนุ่มเป็นผู้ที่ไม่มีพิธีรีตองและดูหมิ่นสำนักปรัชญาขงจื๊อ เมื่อตั้งตนเป็นฮ่องเต้แล้ว พระองค์ทรงเห็นว่า ตนเองได้พิชิตอาณาจักรมาได้ด้วยการรบบนหลังม้า จึงเห็นว่า หนังสือของสำนักปรัชญาขงจื้อไร้ประโยชน์ ลู่เจี่ยเสนาบดีจึงทูล ว่า "อาณาจักรนั้น สามารถพิชิตได้ แต่จะปกครองบนหลังม้าไม่ได้" พระองค์สั่งให้ลู่เจี่ยแต่งหนังสือ เพื่อสืบหาความผิดพลาดและความล้มเหลวของจักรพรรดิราชวงศ์ฉินที่ยังผลให้ราชวงศ์ฉินต้องถูกโค่นล้มในที่สุด เพื่อให้คนรุ่นหลังถือเป็น อุทาหรณ์และรับเป็นบทเรียน

หลิวปังตั้งตนเป็นฮ่องเต้ใน 202 ปีก่อนคริสตกาล และย้ายเมืองหลวงจากเสียนหยางไปยังเมืองฉางอาน แต่ศักราชของราชวงศ์ฮั่น เริ่มนับตั้งแต่หลิวปังได้รับแต่งตั้งเป็น "ฮั่นหวาง" ใน 206 ปีก่อนคริสตกาล หลังจากจักรพรรดิหลิวปังสิ้นสวรรคตและจักรพรรดิราชวงศ์ฮั่นในภายหลังได้ถวายพระนามในฐานะปฐมจักรพรรดิของราชวงศ์ฮั่นว่า "ฮั่นเกาจู่"

หลิวปังยกทัพไปปราบปรามกลุ่มกบฏของอิงปู้ ถูกเกาทัณฑ์ยิงจน ประชวรหนักและสวรรคต ใน 195 ก่อนคริสต์ศักราช

พระบรมนามาภิไธย     ราชสกุล: Liu (劉)
นามพระราชทาน: Ji(季)
พระนาม     Liu Bang
พระราชอิสริยยศ     จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก
ราชวงศ์     ฮั่น
รัชกาลก่อน     ไม่มี, เซี่ยงอวี่ as King of Western Chu
รัชกาลถัดไป     ฮั่นฮุ่ยตี้
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ     256 BC/247 BC
สวรรคต     1 June 195 BC
(aged c. 60-61/c. 51-52)
พระมเหสี     จักรพรรดินีลิจื้อ
พระสนม     Consort Cao, mother of Prince Fei
Consort Qi, mother of Prince Ruyi
Consort Zhang
Consort Wei
Consort Bo, mother of Prince Heng
Consort Zhao
พระราชบุตร     Liu Fei, Prince Daohui of Qi
รัชทายาทหลิวหยิง
Liu Jian, Prince Ling of Yan
Liu Ruyi, Prince Yin of Zhao
หลิวเหิง กษัตริย์แห่งไต้
Liu Hui, Prince Gong of Zhao
Liu You, Prince of Huaiyang
Liu Chang, Prince Li of Huainan
Princess Luyuan
..................
ข้อมูล จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี